วันเสาร์ที่ 14 ธันวาคม พ.ศ. 2556

บันทึกการเรียนครั้งที่ 6

วิชาการจัดประสบการณ์ทางคณิตศาสตร์สำหรับเด็กปฐมวัย
เวลาที่เข้าเรียน: 08.28 น.   เวลาที่เข้าสอน:08.30 น.   เลิกเรียนเวลา:12.25น.
วันที่ 12 เดือน ธัันวาคม พ.ศ.2556

อาจารย์ทบทวนเรื่องสาระคณิตศาสตร์

"การนำความคิดมานำเสนอโดยใช้เทคโนโลยีเข้ามาช่วยและรวมกับความคิดที่เชื่อมโยงกันและยังมีการบูรณาการกันระหว่างสาระต่างๆจะทำให้เด็กได้รับความรู้อย่างเต็มที่"

บัณฑิตดี มีความเป็นครู รอบรู้วิชาชีพ 
คืออัตลักษณ์ของคณะศึกษาศาสตร์มหาวิทยาลัยราชภัฏจันทรเกษม

ความรู้ที่ได้รับ
การทำกิจกรรมแบบนี้จะทำให้เด็กแยกเวลากลางวัน กลางคืน ได้

กิจกรรมนี้เป็นกิจกรรมที่ให้ฝึกให้เด็กรู้จักการรอคอยเมื่อเด็กมาลงเวลาให้เข้าแถวต่อกัน
ใครมาก่อนอยู่ข้างหน้าและให้เด็กลงเวลา โดยใส่เข็มนาฬิกา ครูจะตั้งนาฬิกาที่มีเข็มไว้เป็นตัวอย่างให้เด็กมีประสบการณ์ทางคณิตศาสตร์ด้วยตัวเอง
เป็นกิจกรรมที่ส่งเสริมประสบการณ์ทางคณิตศาสตร์สำหรับเด็ก โดยให้เด็กได้ลงเวลาเอง
ถึงแม้จะผิดก็ไม่เป็นไร เป็นวิธีการให้เด็กได้ลองทำจริงๆ การใส่เข็มนาฬิกาเด็อนุบาล2-3 สามารถทำได้แต่การใส่เวลาอาจเป็นเด็กอนุบาล 3 ที่จะเริ่มทำได้แล้ว

อาจให้เด็กเขียนตัวเลข  โดยมีปฏิทินตั้งโต๊ะไว้ให้เด็กเขียนตาม อนุบาล 1 อาจทำได้แค่ กากบาทในวันที่น้ันหรืออาจทำเป็นสติ๊กเกอร์ให้เด็กไปแปะตามวันที่นั้นๆ

จากนั้นอาจารย์ก็แจกดินน้ำมันและไม้ลูกชิ้น



โดยกิจกรรมแรกที่ให้ทำคือ การใช้ดินน้ำมันและไม้ลูกชิ้นประดิษฐ์เป็นรูปสามเหลี่ยมและต่อด้วยรูปทรงสามเหลี่ยม รูปสี่เหลี่ยม รูปทรงสี่เหลี่ยม สุดท้ายคือปิซิม ต้องมีอุปกรณ์ทั้ง 2 อย่าง

"ถ้าเรามีประสบการณ์เยอะๆจะส่งความรู้ ความคิด ประสบการณ์ไปยังสมอง ถ้าประสบการณ์ไหนสอดคล้องกับอันเดิมก็จะแตกเป็นความรู้ใหม่"

และท้ายคาบอาจารย์ก็ให้ดูสื่อทางคณิตศาสตร์และให้ร้องเพลงเพื่อผ่อนคลายในท้ายคาบ

เพลง ขวดห้าใบ
ขวดห้าใบวางอยู่บนกำแพง(ซ้ำ)
เราเอาหินปาไปให้มันกลิ้งตกลงมา
คงเหลือขวดกี่ใบวางอยู่บนกำแพง ลดลงเหลือสี่่ใบวางอยู่บนกำแพง
(ลดจำนวนขวดลงไปตามลำดับจนกระทั่ง เหลือขวด 1 ใบ)
ไม่มีขวดเหลือเลยวางอยู่บนกำแพง (จะทำอย่างไรกันดี)

เพลง นกกระจิบ
นั่นนกบินมาลิบๆ
นกกระจิบ หนึ่ง สอง สาม สี่ ห้า
อีกฝูงบินล่องลอยมา
หก เจ็ด แปด เก้า สิบ ตัว

เพลง บวก-ลบ
บ้านฉันมีแก้วน้ำ สี่ ใบ     ครูให้อีก สาม ใบนะเธอ
มารวมกันนับดีๆ              ดูซิเธอรวมกันได้ เจ็ด ใบ
บ้านฉันมีแก้วนะ เจ็ด ใบ  หายไป สาม ใบนะเธอ
ฉันหาแก้วแล้วไม่เจอ      ดูซิเออเหลือเพียงแค่ สี่ ใบ

เพลง แม่ไก่ออกไข่
แม่ไก่ออกไข่วันละฟอง ไข่วันละฟอง
แม่ไก่ออกไข่ทุกวัน        หนึ่งวันได้ไข่ หนึ่ง ฟอง
(นับต่อไปเรื่อยๆ)
แม่ไก่ของฉันไข่ทุกวัน   สิบวันได้ไข่ สิบ ฟอง
เพลง ลูกแมวสิบตัว
ลูกแมวสิบตัวที่ฉันเลี้ยงไว้ น้องขอให้แบ่งไป หนึ่งตัว
ลูกแมวสิบตัวก็เหลือน้อยลงไป นับดูใหม่เหลือลูกแมวเก้าตัว
(ลดจำนวนลงไปตามลำดับจนกระทั่งเหลือหนึ่งตัว)
ลูกแมวหนึ่งตัวก็เหลือน้อยลงไป นับดูใหม่ไม่เหลือลูกแมวสักตัว

การนำไปใช้
   จากการเรียนดิฉันจะนำไปจัดการเล่นหรือกิจกรรมต่างๆต้องให้เด็กมีประสบการณ์ทางคณิตศาสตร์ โดยการนำดินน้ำมันมาต่อเป็นรูปๆต่างๆให้เด็กรู้ว่าแต่ละรูปร่าง รูปทรงมาจากไหน  ในการทำกิจกรรมตอนแรกให้เด็กรู้เป็นนามธรรมก่อนและค่อยสอนเป็นรูปธรรมให้เด็กทำซ้ำ เพื่อให้เด็กเกิดการเรียนรู้ กับสิ่งที่เด็กได้เห็นและจับต้องได้

การประเมินผล
ประเมินตนเอง
   สามารถจินตนาการตามกิจกรรมที่อาจารย์ให้ทำและมีการฝึกตอบคำถามกับอาจารย์เพื่อให้เกิดการจำมากขึ้น นอกจากการจำจากสมองยังจำเนื้อหาได้จากการพูดออกมาอีกด้วย
ประเมินเพื่อน
    เพื่อนทุกคนทำกิจกรรมได้เป็นอย่างดี มีความคิดที่รวดเร็วและบางคนก็มีจินตนาการมากกว่ารูปธรรมดา ไม่มีการตีกรอบความคิดและทุกคนสามารถตอบคำถามอาจารย์ได้แต่อาจจะยังไม่ตรงกับความคิดของอาจารย์
ประเมินอาจารย์
   อาจารย์มีเทคนิคการสอนที่หลายหลายมีการนำของจริงมาให้สัมผัสและยังนำภาพสื่อต่างๆมาให้ดูเพื่อเป็นประสบการณ์ในการจำและนำไปปฏิบัติต่อไป



บันทึกการเรียนครั้งที่ 5

    หยุดเรียนเนื่องจากตรงกับวันพ่อแห่งชาติวันที่ 5 ธันวาคม เป็นวันเฉลิมพระชนมพรรษาพระบามสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวภูมิพลอดุลยเดช


และฉันก็ได้ไปจุดเทียนชัยถวายพระพรที่สนามหลวง
ขอพระองค์ทรงพระเจริญยิ่งยืนนาน

วันศุกร์ที่ 29 พฤศจิกายน พ.ศ. 2556

บันทึกการเรียนครั้งที่ 4

วิชาการจัดประสบการณ์ทางคณิตศาสตร์สำหรับเด็กปฐมวัย
เวลาที่เข้าเรียน:08.35 น.    เวลาที่เข้าสอน:08.30 น.    เลิกเรียนเวลา: 12.20 น.
วันที่ 28 เดือนพฤศจิกายน พ.ศ.2556

ต้นชั่วโมงกระตุ้นเรื่องการทำบล๊อก
เพลงนับเลข
พวกเรามาชวยกันนับเลข     นับเลขเรามาช่วยกัน
เอ้าเริ่มจาก12345     แล้วต่อมา 6789 10
เด็กๆจำให้ดีๆ     ตัวเลขนี้มี 10 ตัวเอย
              (ผู้แต่ง นางสาวบุณยาพร พลคร)
อาจารย์สอนเพลง
เพลง นับนิ้ว
นี่คือมือของฉัน   มือฉันนั้นมี 10 นิ้ว มือขวาก็มี  5 นิ้ว มือซ้ายก็มี 5 นิ้ว
 นับ 12345 นับต่อมา 678910 นับนิ้วนับจงอย่ารีบ นับให้ดีนับให้้ขึ้นใจ
เพลง เข้าแถว
เข้าแถว เข้าแถว     อย่าลำแนวเดินเรียงกัน
อย่ามัวแชเชือน     เดินตามเพื่อนให้ทัน
ระวังเดินชนกัน     เข้าแถวพลันว่องไว
เพลงจัดแถว
สองมือเราชูตรง     แล้วเอาลงมาเสมอกับบ่า
ต่อไปย้ายมาข้างหน้า     แล้วมาลงมาอยู่ในท่ายืนตรง
เพลงซ้ายขวา
ยืนให้ตัวตรง     ก้มหัวลงตบมือแผละ
แขนซ้ายฉันอยู่ไหน     หันตัวไปทางนั้นแหละ

เพลงพาเหรดตัวเลข
มาพวกเรามาเดินเรียงแถวพร้อมกัน
1234556789 แล้วก็ 10
ซ้ายขวาซ้าย ซ้ายขวาซ้าย ชูมือขึ้นข้างบน
หมุนมือลงข้างล่าง ซ้ายขวาซ้าย ซ้ายขวาซ้าย
มาพวกเรามาเดินเรียงแถวพร้อมกัน (ซ้ำ 2 รอบ)
คำร้อง ทำนอง ดร. สุภาพร เทพยสุวรรณ
ดร.แพง ชิณวงศ์

อาจารย์ให้กระดาษมาคนละ 1 แผ่น แล้ววาดรูปสัตว์ที่มีขาโดยดิฉันวาดรูปยีราฟ
การวาดรูปสัตว์ที่มีขา แล้วก็ถามเด็กแต่ละคนวาดรูปอะไร เพราะสัตว์แต่ละตัวมีขาไม่เท่ากัน
บางตัว 2 บางตัว 4 ฝึกให้เด็กได้นับเลขเพื่อเพิ่มประสบการณ์ทางคณิตศาสตร์ให้กับเด็ก


"เราจะให้ประสบการณ์ในการนับเลข ไม่ใช่เพียงแค่การที่อยู่ดีๆมานับเลขเลย เราควรใช้กิจกรรมเข้ามาสอดแทรกการสอนไปด้วย" คำพูดอาจารย์

ความรู้ในวันนี้
สาระสำคัญทางคณิตศาสตร์์
เป็นหลักการที่ต้องการปลูกฝังให้เด็ก ผู้สอนควรศึกษาสาระสำคัญทางคณิตศาสตร์ของแต่ละสาระในกรอบมาตราฐานการเรียนรู้คณิตศาสตร์ปฐมวัย และเพื่อให้เข้าใจตรงกันจึงได้รวบรวมสาระสำคัญทางคณิตศาสตร์ระดับปฐมวัยได้ดังนี้

     - สาระที่ 1 จำนวนและการดำเนินการ

"จะสอนอะไรต้องนึกถึงการเรียนรู้ของเด็ก เด็กจะต้องมีการลงมือกระทำด้วยประสาทสัมผัสทั้ง 5 ก็จะกลายเป็นการเรียนรู้" คำพูดอาจารย์
"การสอนตัวเลขกับเด็ก อาจใช้นิทาน สอนงานศิลปะแทนการสอนตัวเลขโดยตรง" คำพูดอาจารย์

      สัญลักษณ์พื้นฐานที่ใช้เขียนแสดงจำนวน เรียกว่าเลขโดด ในระบบฐานสิบ คือ ตัวเลขที่เป็นพื้นฐาน 1-10 หรือ 1 เซต 
      จำนวนสองจำนวนเมื่อนำมาเปรียบเทียบกันจะมีค่าเท่ากัน มากกว่ากันหรือน้อยกว่ากันอย่างใดอย่างหนึ่ง

"สิ่งของที่ให้เด็กทำต้องเป็นรูปธรรม ให้เด็กสัมผัสจับต้องได้" คำพูดอาจารย์
      การบอกอันดับที่ของสิ่งต่างๆ จะต้องกำหนดสิ่งที่เริ่มต้นก่อนถึงจะจัดอันดับ เช่น ที่หนึ่ง ที่สอง ที่สาม ที่สี่ ที่ห้า....เป็นการบอกอันดับที่
     การรวมตัวเป็นการนับรวมจำนวนต่างๆออกจากกลุ่มใหม่ได้ผลรวมมากขึ้น
3 + 3 = 6
     การแยกเป็นการนำจำนวนสิ่งต่างๆ ออกจากกลุ่มใหญ่แล้วบอกจำนวนที่เหลือ
4 - 2 = 2
จากนั้นอาจารย์ก็ให้แบ่งกลุ่ม กลุ่มละ 2 คน ช่วยกันคิดกิจกรรมตามสาระที่ 1







 กลุ่มดิฉันทำกิจกรรมเคลื่อนไหวไปกับนิทานตัวเลข



ข้อควรปรับปรุงคือ อาจเนิ้อหายากเกินไปสำหรับเด็ก อาจมีการปรับเปลี่ยนสถานการ์ณในเนื้อหา หรือบางตอนในนิทานควรให้เด็กมีส่วนร่วมโดยอาจเตรียมชุดกระโปรงและกางเกงสำหรับเด็กนักเรียนชายและนักเรียนหญิง จากนั้นให้เด็กๆแต่ละคนไปใส่ตามเพศของตนเอง แล้วเมื่อใส่เสร็จก็มานับว่าผู้หญิงหรือผู้ชายในห้องใครมีจำนวนมากกว่ากัน

ผลงานของเพื่อนๆ
ผลงานของเพื่อนๆในห้อง
จากการนำเสนอของเพื่อนทั้งหมด สรุปแนวทางแก้ไขได้ดังนี้
     เวลาดูเกณฑ์การแบ่งกลุ่มในทางคณิตศาสตร์ควรดูความเหมาะสม เช่น แอปเปิ้ล อาจแบ่งได้ทั้งสองเกณฑ์ถ้าเราตั้งเกณฑ์สี เพราะบางลูกอาจสีแดง บางลูกอาจสีเขียว ก่อนจะทำสื่อการเรียงลำดับเด็กควรจะรู้ค่า หรือรู้จุดเริ่มต้นก่อน และสื่อที่ทำควรให้เด็กได้สัมผัสจับต้องได้ การใช้สัญลักษณ์แทนจำนวนควรทำให้ชัดเจน

การนำไปใช้
     - สามารถนำกิจกรรมหรือสื่อแต่ละอย่างที่ช่วยกันคิดภายในห้องเรียน ไปปรับใช้ให้มีความสมบูรณ์และเกิดประสิทธิภาพให้มากที่สุด
     - สามารถนำคำแนะนำต่างๆที่อาจารย์ได้ให้ไปปรับปรุงวิธีการจัดประสบการณ์ทางคณิตศาสตร์ให้กับเด็ก
     - การสร้างกิจกรรมหรือสื่อ ด้วยตนเองจะทำให้เราได้ลงมือปฏิบัติเพื่อให้ทราบถึงปัญหาและทางแก้ด้วยตนเอง


การประเมินผล
ประเมินตนเอง - สามารถร่วมกิจกรรมกับเพื่อนๆในห้องได้ ร่วมกิจกรรมและออกไปนำเสนออย่างเต็มที่ นำความรู้ที่เคยได้เรียนมาปรับใช้กับการทำกิจกรรม
ประเมินเพื่อน - เพื่อนๆช่วยกันตอบคำถามด้วยความรู้ของตนเอง บางคนก็ไม่กล้าตอบเพราะกลัวผิดแต่ก็พยายามตอบ เพื่อนๆช่วยกันทำงาน ช่วยกันคิดวางแผนงานออกมาได้อย่างดี
ประเมินอาจารย์ - อาจารย์มีการแนะนำตัวอย่างหรือยกตัวอย่างการสร้างกิจกรรมโดยให้คำนึงถึงการทำกิจกรรมในชีวิตประจำวันของเด็ก มีการให้นักศึกษาลงมือปฏิบัติกิจกรรม คิดกิจกรรมเพื่อให้มีความหลากหลาย


วันเสาร์ที่ 23 พฤศจิกายน พ.ศ. 2556

บทความเกี่ยวกับคณิตศาสตร์สำหรับเด็กปฐมวัย


จากการอ่านและสรุปบทความได้ว่า
     การสอนคณิตศาสตร์ให้เด็กต้องหากิจกรรมเสริมประสบการณ์โดยใช้สื่อทั้งที่เป็นรูปภาพ เป็นของจริง ของจำลองใช้อุปกรณ์และสื่อที่หลากหลาย บางครั้งก็ใช้สื่อตามมุมต่างๆในห้องเรียน เช่น ไม้บล๊อก ลูกบอล ตัวต่อเป็นต้นและการจัดกิจกรรมที่ส่งเสริมในเรื่องการคำนวณ การจัดกลุ่ม การจำแนก รูปทรงรูปร่าง การเปรียบเทียบให้กับเด็ก อาจใช้วิธีการจัดกิจกรรมกลุ่มซึ่งเป็นการให้เด็กได้เรียนรู้ร่วมกัน มีการช่วยเหลือกันและเปิดโอกาสให้เด็กมีการนำเสนอผลงานของตนเองอาจเป็นวิธีการวาดภาพหรือการเล่าเรื่องให้ครูและเพื่อนๆฟัง โดยครูให้กำลังใจเสมอเวลาเด็กๆทำกิจกรรมเพื่อให้เด็กเกิดความสุขในการเรียนคณิตศาสตร์     
การนำไปใช้
    -สามารถนำไปปรับใช้โดยการหากิจกรรมเสริมประสบการณ์ให้กับเด็กให้เด็กเกิดความสุขกับวิชาคณิตศาสตร์
     -สามารถนำให้เด็กสนใจการเรียนคณิตศาสตร์มากขึ้นเมื่อเด็กได้ทำงานหรือทำกิจกรรมกับเพื่อน ใหเด็กรู้จักกระบวนการคิด การยอมรับฟังความคิดเห็นของเพื่อนๆในกลุ่ม ให้เด็กเกิดความกล้าแสดงออก
     -สามารถรู้วิธีการจัดประสบการณ์ให้เด็กมากขึ้นในวิชาคณิตศาสตร์ว่าการสอนคณิตศาสตร์ไม่ใช่เพียงแค่เนื้อหาอาจให้เด็กได้เล่นกับของจริง ของจำลองและรูปภาพแต่เราอาจสอดแทรกการสอนวิชาคณิตศาสตร์ไปด้วย

ดูวิดีโอโทรทัศน์ครู




สรุปจากการดู
     เรื่องนี้้ชื่อว่า Making Maths+Real "สอนคณิตให้มีชีวิตชีวา" นำวิชาคณิตศาสตร์โโยครูต้องเข้าไปใกล้ชิดกับเด็ก ต้องใช้เวลาและความอดทนอย่างมาก ต้องนำเรื่องที่เด็กสนใจมาให้เด็กเรียนเพื่อให้เด็กคิดว่าเด็กเป็นส่วนหนึ่งในเนื้อหา เริ่มต้นชั่วโมงให้เด็กทำกิจกรรมเกี่ยวกับคณิตศาสตร์กับตัวเลขก่อนให้เด็กเกิดความสนุกสนานไปกับการเรียนและจะทำให้วิชาคณิตศาสตร์มากขึ้น ใช้สัญลักษณ์ท่าทางให้เด็กสนุกไปกับการเรียน เด็กก็จะเริ่มยอมรับสัญลักษณ์นั้นๆ ใช้ภาษากายเพื่อให้เด็กเข้าใจว่าการเรียนเป็นเรื่องใกล้ตัวและควรให้เด็กซึมซาบวิชาคณิตศาสตร์ไปโดยไม่รู้ตัวว่ากำลังเรียนอยู่ เด็กมักจะกลัววิชาคณิตศาสตร์เราควรหากิจรรมต่างๆเพื่อให้เด็กสนุกสนานและสร้างความกลมกลืนกับเด็กให้ได้เด็กก็จะรักวิชาคณิตศาสตร์ไปเอง
การประยุกต์ใช้
    สามารถนำไปปรับใช้โดยเราอาจสอดแทรกการแสดงต่างๆเพื่อให้เด็กตื่นเต้นแล้วอยากใช้ความคิดเกี่ยวกับคณิตศาสตร์มากยิ่งขึ้น ให้เด็กมีความเชื่อว่าคณิตศาสตร์เป็นสิ่งเกี่ยวข้องกับชีวิตประจำวัน และอาจจะใช้สัญลักษณ์ท่าทางกับเด็กเพื่อให้เด็กจำเครื่องหมายง่ายขึ้นและยังสามารถทำให้วิชาคณิตศาสตร์ซึมซาบไปกับเด็กและส่งผลต่อการศึกษาในชั้นที่สูงขึ้นไป ควรหากิจกรรมที่เด็กคิดว่าไม่ได้เรียนคณิตศาสตร์ไปด้วย เป็นประโยชน์ต่อดิฉันเป็นอย่างมาก

บันทึกการเรียนครั้งที่ 3

วิชาการจัดประสบการณ์ทางคณิตศาสตร์สำหรับเด็กปฐมวัย กลุ่ม104

เวลาที่เข้าเรียน:08.35 น.  อาจารย์เข้าสอน:08.30น.  เลิกเรียนเวลา 11.55น.
วันที่ 21 เดือน พฤศจิกายน พ.ศ.2556

     เริ่มต้นคาบเรียนอาจารย์ให้แจกกระดาษคนละแผ่นแต่กติกาคือให้ส่งต่อๆกันไปเรื่อยๆ จนครบทุกคน เป็นการสอนให้เด็กได้รู้จักการนับเลขไปเรื่อยๆโดยเพิ่มทีละหนึ่งและหลังจากนั้นก็สรุปการเรียนครั้งที่แล้วว่าได้อะไรบ้าง
     "ครูอนุบาลไม่ใช่แค่การสอน ต้องมีทั้งศาสตร์และศิลป์และอีกอย่างต้องมีการสอนที่เชื่อมโยงเข้าหากัน" คำพูดอาจารย์
     "การช่วยกันระดมความคิดเป็นการช่วยกันแบ่งปันประสบการ์ณเดิมและไม่มีคำว่าถูกผิด ไม่มีการพูดบั่นทอนจิตใจ มีการให้เด็กใช้ความคิดของตนเองอย่างเต็มที่" คำพูดอาจารย์

ความรู้ที่ได้รับในวันนี้
- การนับ เป็นศาสตร์เกี่ยวกับตัวเลขเป็นอันดับแรกที่เด็กรู้จักเป็นการนับอย่างความหมาย
- ตัวเลข เป็นการให้เด็กรู้จักตัวเลขที่เห็นหรือใช้ในชีวิตประจำวัน
- การจับคู่ เป็นการฝึกฝนให้เด็กรู้จักสังเกตลักษณะต่างๆจับคู่สิ่งที่เข้าคู่กัน เหมือนกันหรืออยู่ประเภทเดียวกัน
- การจัดประเภท เป็นการฝึกฝนให้เด็กรู้จักการสังเกตลักษณะต่างๆของสิ่งของว่าแตกต่างหรือเหมือนกัน
- การเปรียบเทียบ เด็กจะต้องเสาะแสวงและอาศัยความสัมพันธ์ระหว่างของสองสิ่งหรือมากกว่า
- การจัดลำดับ เป็นการจัดสิ่งของชุดหนึ่งตามคำสั่งหรือตามกฎ
- รูปทรงและเนื้อที่ นอกจากให้เด็กเรียนรู้เรื่องรูปทรงและเนื้อที่จากการเล่นตามปกติแล้วครูยังต้องจัดประสบการณ์ให้เด็กได้เรียนรู้เกี่ยวกับรูปทรงเรขาคณิต
- การวัด มักให้เด็กลงมือวัดด้วยตนเองให้รู้จักความยาวและระยะทาง รู้จักชั่งน้ำหนักและรู้จักการประมาณอย่างคร่าวๆ

กิจกรรมในห้องเรียน
กิจกรรมที่ 1 เรื่องเค้ก
 
สามารถนำเรื่องรอบๆตัวไปสอนเด็ก ว่าการแบ่งเค้กเพื่อให้เด็กรู้จักรูปทรง ราคา ขนาด สี และเทียน(อายุ)

กิจกรรมที่ 2 การทำหนังสือเล่มเล็ก
หนังสือเล่มเล็กชื่อ สิ่งที่ฉันรู้เกี่ยวกับคณิตศาสตร์


เป็นกิจกรรมที่สามารถให้เด็กตกแต่งด้วยตนเองได้ลงมือปฏิบัติ และเมื่อเด็กทำไม่ควรไปสกัดกั้นความคิดของเด็ก ให้เด็กได้ใช้ความคิดอย่างเต็มที่

กิจกรรมที่ 3 ร้องเพลง

เพลงสวัสดียามเช้า
ตื่นเช้าแปรงฟันล้างหน้า    อาบน้ำแล้วมาแต่งตัว
กินอาหารของดีมีทั่ว      หนูเตรียมตัวจะไปโรงเรียน
สวัสดีคุณแม่คุณพ่อ    ไม่รีรอรีบไปโรงเรียน
หลั่นล้า หลั่นลา    หลั่นหล่า หลัน ลันลา
หลั่นลา หลั่นล้า
"การแบ่งวรรคเพลงให้เด็กอ่าน เป็นการฝึกเด็กอ่าน สะกดคำ การอ่านที่ถูกต้องให้เด็กรู้จักคำแต่ละคำและนำไปใช้ต่อไป"
เพลงนี้เด็กจะสอนเวลา การเรียงลำดับเหตุการณ์ เมื่อเด็กตอบคำถามกับครูจะไม่มีการระงับความๅคิดเด็กเพราะเด็กกำลังระดมความคิดไม่มีถูกผิดแล้วครูค่อยสอนเด็กในภายหลัง

เพลงสวัสดีคุณครู
สวัสดีคุณครู   หนูจะตั้งใจอ่านเขียน
ยามเช้าเรามาโรงเรียนๆ    หนูจะพากเพียรขยันเรียนเอย
เพลงนี้จะสอนประเพณีที่ดีงามให้กับเด็ก สอนในเรื่องมารยาทต่างๆ

เพลงหนึ่งปีมีสิบสองเดือน
หนึ่งปีนั้นมีสิบสองเดือน     อย่าลืมเลือนจำไว้ให้มั่น
หนึ่งสัปดาห์นั้นมีเจ็ดวันๆ    อาทิตย์ จันทร์ อังคาร พุธ
พฤหัส ศุกร์ เสาร์     หลั่นลา หลั่นล่า
เพลงนี้สอนให้เด็กรู้จักการนับ และการเรียงลำดับไปเรื่อยๆ

กิจกรรมที่ 4 กิจกรรมใครมาเวลาไหน

 ให้เด็กทำกิจกรรมโดยแบ่งเป็น 3 กลุ่มโดยแบ่งคนมาก่อน 08.00 น. มาหลัง08.00 น. โดยใช้เกณฑ์ 08.00 น. เป็นเกณฑ์กลาง


กิจกรรมที่ 5 กำหนดเกณฑ์หรรษา
ชื่อกลุ่มตัวกลม

เพื่อนๆในกลุ่มนำของออกมาคนละชิ้น คือ ขวดน้ำ ปากกา ยางลบ ไม้บรรทัด ขนม
การทำกิจกรรมคือให้สมาชิกในกลุ่มช่วยกันระดมความคิดว่าของทั้ง 5 ชิ้น เราจะใช้เกณฑ์อะไรในการแบ่ง  สรุปคือ ใช้ความสูง 20 เซนติเมตรเป็นเกณฑ์กลาง และแบ่งเป็น 2 ฝั่งคือต่ำกว่า 20 เซนติเมตรและมากกว่า 20 เซนติเมตร สามารถนำไปใช้กับเด็กๆเพื่อให้เด็กรู้จักการแบ่งแยก จำแนกให้ถูกต้องได้

การประยุกต์ใช้
- อาจสอนเด็กในเรื่องการทำกิจกรรมก่อน-หลังแล้วหากิจกรรมให้เด็กวาดเข็มนาฬิกาแบบง่าย ก่อนที่เด็กๆจะสามารถเขียนได้
-สอนให้เด็กรู้จักการนับตัวเลข ให้เด็กรู้จักจำนวน การเรียงลำดับเพิ่มไปเรื่อยๆ
-การจัดประสบการณ์สำหรับเด็กต้องเป็นแบบรูปธรรมให้เด็กสามารถจับต้องได้และสามารถลงมือปฏิบัติได้


วันพฤหัสบดีที่ 14 พฤศจิกายน พ.ศ. 2556

บันทึกการเรียนครั้งที่ 2

วิชาการจัดประสบการณ์ทางคณิตศาสตร์สำหรับเด็กปฐมวัย  กลุ่ม 104

เวลาที่เข้าเรียน :08.30 น.     อาจารย์เข้าสอน:08.40 น.     เลิกเรียนเวลา:12.10 น.
วันที่14 เดือน พฤศจิกายน พ.ศ.2556


อาจารย์ให้ดูตัวเลขและอภิปรายกันในห้องเรียนว่าตัวเลขเรานึกถึงอะไรที่มีความสัมพันธ์กับอะไร

ความหมายของคณิตศาสตร์
     หมายถึง วิชาที่ว่าด้วยการคำนวณทักษะพื้นฐานทางคณิตศาสตร์ การนับ การคำนวณ การประมาณมีความสัมพันธ์กับชีวิตประจำวันของมนุษย์เด็กใช้คณิตศาสตร์อย่างง่ายจากความคิดของตนแล้วค่อยๆพัฒนาถึงความคิดแบบคณิตศาสตร์อย่างถูกต้องและใช้เป็นเครื่องมือในการเรีนรู้ในเรื่องอื่นๆ
ความสำคัญของทักษะพื้นฐานทางคณิตศาสตร์
     "เป็นพื้นฐานที่ช่วยให้เด็กรู้จักแก้ปัญหามีความสามารถในการคิดคำนวณและอื่นๆ"
      ทักษะพื้นฐานทางคณิตศาสตร์ช่วยให้เด็กมีความพร้อมที่จะเรียนคณิตศาสตร์เบื้องต้น ได้แก่ การรู้จักสังเกตเปรียบเทียบ การจัดหมวดหมู่ การเพิ่มขึ้นและการลดลง ช่วยขยายประสบการณ์เกี่ยวกับคณิตศาสตร์ให้สอดคล้องเป็นลำดับจากง่ายไปหายาก ช่วยให้เด็กเกิดความเข้าใจในความหมายของสัญลักษณ์ต่างๆสามารถใช้ภาษาเกี่ยวกับวิชาคณิตศาสตร์ได้อย่างถูกต้อง
แนวทางในการส่งเสริมทักษะพื้นฐานทางคณิตศาสตร์
1. ศึกษาและทำความเข้าใจหลักสูตร 
2.ศึกษาพัฒนาการด้านต่างๆ ความต้องการและความสามารถของเด็กปฐมวัย
3.จัดหาสื่อการเรียนที่เด็กสามารถจับต้องให้ได้อย่างพอเพียง โดยใช้ของจริง ของจำลอง รูปภาพจากสิ่งแวดล้อมและสิ่งที่เด็กคุ้นเคย สื่อที่ใช้มี 4 ประเภท คือ วัสดุทำขึ้นเอง วัสดุราคาถูก วัสดุเหลือใช้และวัสดุท้องถิ่น
4.จัดกิจกรรมให้สอดคล้องกับประสบการณ์ในชีวิตประจำวันของเด็ก
การทำงานของกลุ่มดิฉันโดยเมื่อเสร็จก็อภิปรายกลุ่มมาเขียนสรุปแนวคิด
5.เปิดโอกาสให้เด็กได้มีส่วนร่วมในการทำกิจกรรม
6.จัดประสบการณ์ให้เด็กได้คิดแก้ปัญหา
7.จัดกิจกรรมโดยคำนึงถึงความแตกต่าง
8.สร้างความสัมพันธ์ที่ดีระหว่างบ้าานและโรงเรียน
9.จัดสภาพแวดล้อมทั้งในและนอกห้องเรียน

หลังจากนั้นอาจารย์ก็ให้ทำงานกลุ่ม 5 คน โดยกลุ่มดิฉันได้เรื่อง "พัฒนาการของเด็กปฐมวัย"
ผลงานการทำงานกลุ่มพัฒนาการเด็กปฐมวัย

ประเมินตนเอง
  ตอบคำถามอาจารย์และเป็นตัวแทนของกลุ่มหรือเรียกว่า ตัวแทนบ้านนั้นเอง
ประเมินเพื่อน
  เพื่อนทุกคนให้ความร่วมมือในการทำงานและเสนอความคิดเห็น มีการใช้กระบวนการกลุ่มให้มีประสิทธิภาพและความคิดที่มากขึ้น ยอมรับฟังปัญหาของผู้อื่นได้
ประเมินอาจารย์
  อาจารย์มีการให้ตอบคำถามและใช้คำถามให้นักศึกษาคิดและโต้ตอบกับอาจารย์



วันพุธที่ 13 พฤศจิกายน พ.ศ. 2556

บันทึกการเรียนครั้งที่ 1

วิชา การจัดประสบการณ์ทางคณิตศาสตร์สำหรับเด็กปฐมวัย     กลุ่ม 104

เวลาที่เข้าเรียน: 08.30 น.     อาจารย์เข้าสอน: 08.30 น.     เลิกเรียนเวลา: 12.10น.
วันที่ 7 เดือน พฤศจิกายน พ.ศ.2556

อาจารย์ให้นักศึกษาช่วยกันคิดและอธิบายเรื่องการเรียนในรายวิชานี้เพื่อให้รู้เนื้อหาและจุดมุ่งหมายหรือจุดประสงค์ในการเรียนวิชาการจัดประสบการณ์ทางคณิตศาสตร์สำหรับเด็กปฐมวัยอย่างละเอียด

     "รู้ ตั้งหลักตนเองได้ เกิดความเข้าใจ เชื่อมโยงและประยุกต์ใช้ได้"
     "การพึ่งพาอาศัยกันเป็นเรื่องวิทยาศาสตร์ที่เป็นเรื่องจริงและพิสูจน์ได้" (คำพูดของอาจารย์ที่นำมาใช้ได้)

ข้อตกลงในการเรียน

1.ถอดรองเท้าไว้ข้างนอกห้อง
2.ก่อนจะออกจากห้องให้ดูแลความสะอาดเรียบร้อย ปิดแอร์ ปิดไฟ ปิดประตู

ประเมินตนเอง

 มีการตอบคำถามกับอาจารย์ให้ความร่วมมือกับการทำงานให้ห้อง แต่งกายถูกต้องตามระเบียบ
ประเมินเพื่อน
 เพื่อนมีการตอบคำถามและตั้งใจฟังอาจารย์พูด เมื่ออาจารย์ให้เสนอความคิดเห็น
ประเมินอาจารย์
 อาจารย์มีการให้แง่คิดในการเรียน มีการอธิบายพร้อมยกตัวอย่างแนวการสอนอย่างละเอียด