วิชาการจัดประสบการณ์ทางคณิตศาสตร์สำหรับเด็กปฐมวัย
เวลาที่เข้าเรียน:08.35 น. เวลาที่เข้าสอน:08.30 น. เลิกเรียนเวลา: 12.20 น.
วันที่ 28 เดือนพฤศจิกายน พ.ศ.2556
ต้นชั่วโมงกระตุ้นเรื่องการทำบล๊อก
เพลงนับเลข พวกเรามาชวยกันนับเลข นับเลขเรามาช่วยกัน เอ้าเริ่มจาก12345 แล้วต่อมา 6789 10 เด็กๆจำให้ดีๆ ตัวเลขนี้มี 10 ตัวเอย (ผู้แต่ง นางสาวบุณยาพร พลคร) |
อาจารย์สอนเพลง
เพลง นับนิ้ว
นี่คือมือของฉัน มือฉันนั้นมี 10 นิ้ว มือขวาก็มี 5 นิ้ว มือซ้ายก็มี 5 นิ้ว
นับ 12345 นับต่อมา 678910 นับนิ้วนับจงอย่ารีบ นับให้ดีนับให้้ขึ้นใจ
เพลง เข้าแถว
เข้าแถว เข้าแถว อย่าลำแนวเดินเรียงกัน
อย่ามัวแชเชือน เดินตามเพื่อนให้ทัน
ระวังเดินชนกัน เข้าแถวพลันว่องไว
เพลงจัดแถว
สองมือเราชูตรง แล้วเอาลงมาเสมอกับบ่า
ต่อไปย้ายมาข้างหน้า แล้วมาลงมาอยู่ในท่ายืนตรง
เพลงซ้ายขวา
ยืนให้ตัวตรง ก้มหัวลงตบมือแผละ
แขนซ้ายฉันอยู่ไหน หันตัวไปทางนั้นแหละ
เพลงพาเหรดตัวเลข
มาพวกเรามาเดินเรียงแถวพร้อมกัน
1234556789 แล้วก็ 10
ซ้ายขวาซ้าย ซ้ายขวาซ้าย ชูมือขึ้นข้างบน
หมุนมือลงข้างล่าง ซ้ายขวาซ้าย ซ้ายขวาซ้าย
มาพวกเรามาเดินเรียงแถวพร้อมกัน (ซ้ำ 2 รอบ)
คำร้อง ทำนอง ดร. สุภาพร เทพยสุวรรณ
ดร.แพง ชิณวงศ์
อาจารย์ให้กระดาษมาคนละ 1 แผ่น แล้ววาดรูปสัตว์ที่มีขาโดยดิฉันวาดรูปยีราฟ
การวาดรูปสัตว์ที่มีขา แล้วก็ถามเด็กแต่ละคนวาดรูปอะไร เพราะสัตว์แต่ละตัวมีขาไม่เท่ากัน บางตัว 2 บางตัว 4 ฝึกให้เด็กได้นับเลขเพื่อเพิ่มประสบการณ์ทางคณิตศาสตร์ให้กับเด็ก |
"เราจะให้ประสบการณ์ในการนับเลข ไม่ใช่เพียงแค่การที่อยู่ดีๆมานับเลขเลย เราควรใช้กิจกรรมเข้ามาสอดแทรกการสอนไปด้วย" คำพูดอาจารย์
ความรู้ในวันนี้
สาระสำคัญทางคณิตศาสตร์์
เป็นหลักการที่ต้องการปลูกฝังให้เด็ก ผู้สอนควรศึกษาสาระสำคัญทางคณิตศาสตร์ของแต่ละสาระในกรอบมาตราฐานการเรียนรู้คณิตศาสตร์ปฐมวัย และเพื่อให้เข้าใจตรงกันจึงได้รวบรวมสาระสำคัญทางคณิตศาสตร์ระดับปฐมวัยได้ดังนี้
- สาระที่ 1 จำนวนและการดำเนินการ
"จะสอนอะไรต้องนึกถึงการเรียนรู้ของเด็ก เด็กจะต้องมีการลงมือกระทำด้วยประสาทสัมผัสทั้ง 5 ก็จะกลายเป็นการเรียนรู้" คำพูดอาจารย์
"การสอนตัวเลขกับเด็ก อาจใช้นิทาน สอนงานศิลปะแทนการสอนตัวเลขโดยตรง" คำพูดอาจารย์
สัญลักษณ์พื้นฐานที่ใช้เขียนแสดงจำนวน เรียกว่าเลขโดด ในระบบฐานสิบ คือ ตัวเลขที่เป็นพื้นฐาน 1-10 หรือ 1 เซต
จำนวนสองจำนวนเมื่อนำมาเปรียบเทียบกันจะมีค่าเท่ากัน มากกว่ากันหรือน้อยกว่ากันอย่างใดอย่างหนึ่ง
"สิ่งของที่ให้เด็กทำต้องเป็นรูปธรรม ให้เด็กสัมผัสจับต้องได้" คำพูดอาจารย์
การบอกอันดับที่ของสิ่งต่างๆ จะต้องกำหนดสิ่งที่เริ่มต้นก่อนถึงจะจัดอันดับ เช่น ที่หนึ่ง ที่สอง ที่สาม ที่สี่ ที่ห้า....เป็นการบอกอันดับที่
การรวมตัวเป็นการนับรวมจำนวนต่างๆออกจากกลุ่มใหม่ได้ผลรวมมากขึ้น
3 + 3 = 6 |
4 - 2 = 2 |
กลุ่มดิฉันทำกิจกรรมเคลื่อนไหวไปกับนิทานตัวเลข
จากการนำเสนอของเพื่อนทั้งหมด สรุปแนวทางแก้ไขได้ดังนี้
ข้อควรปรับปรุงคือ อาจเนิ้อหายากเกินไปสำหรับเด็ก อาจมีการปรับเปลี่ยนสถานการ์ณในเนื้อหา หรือบางตอนในนิทานควรให้เด็กมีส่วนร่วมโดยอาจเตรียมชุดกระโปรงและกางเกงสำหรับเด็กนักเรียนชายและนักเรียนหญิง จากนั้นให้เด็กๆแต่ละคนไปใส่ตามเพศของตนเอง แล้วเมื่อใส่เสร็จก็มานับว่าผู้หญิงหรือผู้ชายในห้องใครมีจำนวนมากกว่ากัน
ผลงานของเพื่อนๆ
ผลงานของเพื่อนๆในห้อง |
เวลาดูเกณฑ์การแบ่งกลุ่มในทางคณิตศาสตร์ควรดูความเหมาะสม เช่น แอปเปิ้ล อาจแบ่งได้ทั้งสองเกณฑ์ถ้าเราตั้งเกณฑ์สี เพราะบางลูกอาจสีแดง บางลูกอาจสีเขียว ก่อนจะทำสื่อการเรียงลำดับเด็กควรจะรู้ค่า หรือรู้จุดเริ่มต้นก่อน และสื่อที่ทำควรให้เด็กได้สัมผัสจับต้องได้ การใช้สัญลักษณ์แทนจำนวนควรทำให้ชัดเจน
การนำไปใช้
- สามารถนำกิจกรรมหรือสื่อแต่ละอย่างที่ช่วยกันคิดภายในห้องเรียน ไปปรับใช้ให้มีความสมบูรณ์และเกิดประสิทธิภาพให้มากที่สุด
- สามารถนำคำแนะนำต่างๆที่อาจารย์ได้ให้ไปปรับปรุงวิธีการจัดประสบการณ์ทางคณิตศาสตร์ให้กับเด็ก
- การสร้างกิจกรรมหรือสื่อ ด้วยตนเองจะทำให้เราได้ลงมือปฏิบัติเพื่อให้ทราบถึงปัญหาและทางแก้ด้วยตนเอง
การประเมินผล
ประเมินตนเอง - สามารถร่วมกิจกรรมกับเพื่อนๆในห้องได้ ร่วมกิจกรรมและออกไปนำเสนออย่างเต็มที่ นำความรู้ที่เคยได้เรียนมาปรับใช้กับการทำกิจกรรม
ประเมินเพื่อน - เพื่อนๆช่วยกันตอบคำถามด้วยความรู้ของตนเอง บางคนก็ไม่กล้าตอบเพราะกลัวผิดแต่ก็พยายามตอบ เพื่อนๆช่วยกันทำงาน ช่วยกันคิดวางแผนงานออกมาได้อย่างดี
ประเมินอาจารย์ - อาจารย์มีการแนะนำตัวอย่างหรือยกตัวอย่างการสร้างกิจกรรมโดยให้คำนึงถึงการทำกิจกรรมในชีวิตประจำวันของเด็ก มีการให้นักศึกษาลงมือปฏิบัติกิจกรรม คิดกิจกรรมเพื่อให้มีความหลากหลาย