วิชาการจัดประสบการณ์ทางคณิตศาสตร์สำหรับเด็กปฐมวัย
เวลาที่เข้าเรียน : 08.20 น. อาจารย์เข้าสอน: 08.30น. เลิกเรียนเวลา:12.05น.
ต้นชั่วโมงมีพิธีการไหว้อาจารย์และอาจารย์ได้ให้ข้อคิดต่างๆ เช่น การระลึกถึงพระคุณของผู้มีบุญคุฯอยู่เสมอ โดยสิ่งที่ไหว้อาจารย์อาจไม่ไช่ของราคาแพง อาจเป็นดอกไม้แค่ 1 ดอก หรือการ์ดสักใบนำไปให้อาจารย์ก็มีความสุขแล้ว
จากนั้นอาจารย์ให้ออกมานำเสนอสื่อของตนเอง พร้อมกับเสนอแนะการแก้ไขสื่อ และถ้าสื่อใดที่มีลักษณะการผลิตสื่อคล้ายๆกัน อาจารย์จะให้จับคู่ทำงานเพื่อแบ่งเบาภาระในการทำงาน
สื่อที่ดิฉันคิดคือ "ฝาเยลลี่มหาสนุก"
วัตถุประสงค์
1.เพื่อให้เด็กมีความสามารถในทางคณิตศาสตร์
2.เพื่อให้เด็กทำงานประสานสัมพันธ์ระหว่างมือกับตา
3.เพื่อให้เด็กรู้จักการจับคู่และเปรียบเทียบได้
วิธีการดำเนินกิจกรรม
เด็กนำฝาเยลลี่ไปจับคู่กับภาพที่เหมือนกันโดยให้เด็กรู้จักการสังเกตความเหมือนความต่างของรูปภาพ อาจนำไปปรับเปลี่ยนเป็นการสอนเรื่องอื่นนอกจากคณิตศาสตร์เช่น ภาษาอังกฤษ ภาษาไทยฯลฯ
อุปกรณ์
1.ฝาเยลลี่
2.ฟิวเจอร์บอร์ด
3.กระดาษลัง
4.กรรไกร
5.กระดาษสีต่างๆ
6.กาว
กิจกรรมต่อมาอาจารย์สอนการเขียนแผนจัดประสบการณ์
ตัวอย่างแผนการจัดประสบการณ์ |
วัตถุประสงค์
คือ เป้าหมายที่คิดว่าเด็กจะได้จากการทำกิจกรรมนั้น
สาระการเรียนรู้
- ประสบการณ์สำคัญ (ประสบการณ์ที่คิดว่าจะเกิดกับเด็กโดยดูที่หลักสูตรปฐมวัย)
- สาระที่ควรรู้(เป็นสาระที่ถูกกำหนดไว้ในหลักสูตร)
กิจกรรมการเรียนรู้
คือ การจัดกิจกรรมที่ครูได้เขียนวางแผนให้กับนักศึกษา
สื่อ/แหล่งเรียนรู้
คือ อุปกรณ์หรือผลงานที่ช่วยเสริมการทำกิจกรรมของเด็ก
การวัดและประเมินผล
คือ การประเมินการทำกิจกรรมของเด็กว่าทำได้ตรงตามกับวัตถุประสงค์หรือไม่
การบูรณาการ
คือ การที่เราสามารถนำกิจกรรมที่จัดไปใช้ในการเรียนรู้ในเรื่องอื่นๆได้
การนำไปใช้
1.การระลึกถึงบุณคุณของผู้มีพระคุณอยู่เสมอเป็นสิ่งที่สำคัญและเป็นสิ่งดีงาม
2.การประยุกต์ใช้สื่อควรบูรณาการสิ่งต่างๆที่มีการให้เด็กลงมือปฏิบัติจริง
3.จะสร้างสื่อไม่ควรสร้างด้วยจินตนาการเราเพียงอย่างเดียวแต่ควรคำนึงถึงการเล่นของเด็กดวย
4.การทำแผนเป็นหนึ่งตัวช่วยในการวางแผนการสอนของเราในอนาคต
ประเมินตนเอง
มีความระลึกถึงบุญคุณของครูอาจารย์ โดยเป็นผู้กล่าวไหว้อาจารย์และมีความคิดที่ใช้ในการคิดสื่อและแผนต่างๆ
ประเมินเพื่อน
ทุกคนมีความคิดที่หลากหลายในการคิดสื่อที่น่าสนใจ และการเขียนแผนที่ยังไม่ค่อยสมบูรณ์แต่ทุกคนก็สามารถเขียนออกมาได้ดี
ประเมินอาจารย์
อาจารย์มีเทคนิคการสอนโดยให้เด็กเป็นคนลงมือกระทำและการทำงานอาจารย์จะให้นักศึกษาคิดเองโดยที่อาจารย์เป็นเพียงผู้ชี้แนะเท่านั้น