วันศุกร์ที่ 21 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2557

งานวิจัยเกี่ยวกับคณิตศาสตร์สำหรับเด็กปฐมวัย

งานวิจัยเรื่อง การใช้กิจกรรมการละเล่นแบบไทยเพื่อพัฒนามโนทัศน์ด้านคณิตศาสตร์ของเด็กปฐมวัย

ชื่องานวิจัย  การใช้กิจกรรมการละเล่นแบบไทยเพื่อพัฒนามโนทัศน์ด้านคณิตศาสตร์ของเด็กปฐมวัย = Using thai folk plays to develop mathematics concepts of Preschool Children
ผู้วิจัย ทัดดาว ดวงเงา

บทที่ 1 บทนำ

   ในปัจจุบันคณิตศาสตร์มีความสำคัญกับการดำเนินชีวิตเราเราเป็นอย่างมากทั้งวัยเด็กและวัยผู้ใหญ่ ที่ต้องนำความรู้ ความเข้าใจและทักษะพื้นฐานทางคณิตศาสตร์นำมาแก้ปัญหาในชีวิตประจำวัน ควรจัดกิจกรรมตั้งแต่วัยเด็ก ควบคู่ไปกับการพัฒนามโนทัศน์พื้นฐานคณิตศาสตร์ที่จะทำให้เด็กได้ลงมือกระทำปฏิบัติจริง ครูเป็นผู้สร้างสรรค์กิจกรรมใหม่ๆที่มีประโยชน์กับเด็ก ซึ่งผู้วิจัยเป็นผู้สอนในระดับปฐมวัยมีประสบการณ์ในการจัดกิจกรรมการละเล่นแบบต่างๆ ที่จำนำแนวคิดและหลักการพื้นฐานในการอนแบบสร้างสรรค์นิยม(Constructivism)และวิธีการสอนแบบเล่นปนเรียนของ Froebel ที่มาสอดคล้องกับวิจัยเรื่องนี้ซึ่งมีวิชาคณิตศษสตร์เข้ามาเกี่ยวข้องเพื่อให้เด็กนำความรู็เกี่ยวกับคณิตศาสตร์ที่ใช้กิจกรรมการละเล่นแบบไทยมาเป็นตัวช่วย และสามารถให้เด็กนำความคิดรววบยอดไปใช้ในอนาคต
วัตถุประสงค์
เพื่อศึกษาผลการใช้กิจกรรมการละเล่นแบบไทยเพื่อพัฒนามโนทัศน์ด้านคณิตศาสตร์ของเด็กปฐมวัย
ขอบเขตของการวิจัย
1.ด้านกลุ่มตัวอย่างเด็กปฐมวัยอายุ 5-6 ปี จำนวน 24 คน โรงเรียนอนุบาลสวนน้อย จังหวัดเชียงใหม่
2.ด้านเนื้อหา เป็นการวิจัยเชิงทดลอง ขอบเขตเนื้อหาดังนี้
   2.1 การละเล่นแบบไทยโดยคัดเลือกการละเล่นแบบไทยที่มีลักษณะการละเล่นเกี่ยวกับการนับและจำนวนที่สามารถเล่นได้ทั้งชายและหญิงจำนวน 10 กิจกรรม
   2.2 มโนทัศน์ด้านคณิตศาสตร์ตามหลักสูตรการศึกษาปฐมวัยพุทธศักราช 2546 จำนวน 10 กิจกรรม
ตัวแปรที่จะศึกษา
   ตัวแปรอิสระ ได้แก่ กิจกรรมการละเล่นแบบไทย
   ตัวแปรตาม  ได้แก่ มโนทัศน์ด้านคณิตศาสตร์สำหรับเด็กปฐมวัย
สมมุติฐานในการวิจัย
    กิจกรรมการละเล่นแบบไทยช่วยพัฒนามโนทัศน์ด้านคณิตศาสตร์สำหรับเด็กปฐมัวยให้สูงขึ้น
ประโยชน์ที่คาดว่าจะได้รับ
    1.ได้ความรู้เกี่ยวกับคณิตศาสตร์โดยใช้กิจกรรมการละเล่นแบบไทย
    2.ผลการศึกษาเป็นแนวทางแก่ครู บุคลากรที่เกี่ยวข้องกับเด็กปฐมวัย

บทที่ 2 เอกสารและงานวิจัยที่เกี่ยวข้อง
   ในการศึกษาการใช้กิจกรรมการละเล่นแบบไทยเพื่อพัฒนามโนทัศน์ด้านคณิตศาสตร์สำหรับเด็กปฐมวัย ผู้วิจัยได้ศึกษาเอกสารและงานวิจัยที่เกี่ยวข้อง เสนอไว้ตามลำดับดังนี้
1.พัฒนาการของเด็กปฐมวัย
2.การละเล่นแบบไทย
3.คณิตศาสตร์ของเด็กปฐมวัย
4.มโนทัศน์
5.งานวิจัยที่เกี่ยวข้อง
พอสรุปสังเขปได้ดังนี้
   เป็นการรวบรวมวิธีการเล่นและวิเคราะห์คุณค่าของการละเล่นแบบไทยแต่ละประเภทเพื่อช่วยฝึกทักาะด้านต่างๆให้บรรลุตามวัตถุประสงค์ในการศึกษาเช่น การส่งเสริมด้านร่างกาย ด้านอารมณ์และจิตใจ ด้านสังคม ด้านสติปัญญาและเป็นการสอนในรูปแบบการเล่นปนเรียนที่เหมาะสมกับเด็กเพือฝึกทักษะด้านภาษา ด้านคณิตศาสตร์และส่งเสริมคุณธรรมจริยธรรม เช่นความสามัคคี ความซื่อสัตย์ ความรับผิดชอบ ความอดทน ความมีระเบียบวินัยและการปลุกฝังการอนุรัษ์วัฒนธรรมไทยให้กับเด็กอีกด้วย อีกทั้งการละเล่นแบบไทยยังเป็นกิจกรรมหนึ่งที่สามารถพัฒนาทักษะพื้นฐานด้านคณิตศาสตร์ได้เป็นอย่างดี จะเห็นได้ว่ามีวิธีการเรียนรู้ที่นำมาใช้เพื่อพัฒนาทักษะด้านคณิตศาสตร์ได้ในกิจกรรมการเรียนการสอนรูปแบบต่างๆเช่น จำนวน การจำแนก รูปร่าง ขนาด สีและกลุ่ม เป้าหมายซึ่งเป็นนักเรียน และได้นำแนวคิดและหลักการพื้นฐานในการสอนแบบสร้างสรรค์นิยม (Constructivism) และวิธีการสอนแบบเล่นปนเรียนของFrobel มาเป็นกรอบแนนคิดในการศึกษาถึงผลการใช้กิจกรรมการละเล่นแบบไทยเพื่อพัฒนามโนทัศน์ด้านคณิตศาสตร์เพื่อให้เด็กสามารถนำทักษะและมโนทัศน์ด้านคณิตศาสตร์เหล่านี้ไปใช้ประโยชน์ในการดำเนินชีวิตทั้งในปัจจุบันและอนาคตได้อย่างมีประสิทธิภาพ โดยผ่านการเล่นและในขณะเดียวกันเด็กจะเกิดการเรียนรู้ไปพร้อมกัน ซึ่งจะส่งผลให้เด็กได้ลงมือปฏิบัติจริง เด็กได้สร้างความเข้าใจในสิ่งที่เรียนรู้ด้วยตนเอง เด็กได้มีปฏิสัมพันธ์กับผู้อื่น ซึ่งมีความสำคัญต่อการเรียนรู้รวมทั้งการจัดสภาพแวดล้อมที่เอื้อต่อการเรียนรู้ด้วยกระบวนการเรียนรู้จากการเล่นปนเรียน

บทที่ 3 วิธีดำเนินการวิจัย
   การวิจัยครั้งนี้เป็นการวิจัยเชิงทดลอง (Experimental Research) แบบกลุ่มเดียวมดลองก่อนและหลังการทดลอง (One-Group Pretest-Posttest Design) เพื่อศึกษาผลการใช้กิจกรรมการละเล่นแบบไทยเพื่อพัฒนามโนทัศน์ด้านคณิตศาสตร์ของเด็กปฐมวัย โดยมีวิธีดำเนินการดังนี้
กลุ่มตัวอย่างที่ใช้ในการวิจัย
       กลุ่มตัวอย่างเป็นนักเรียนอนุบาลปีที่3 จำนวน24คน
เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัย
 ได้แก่1.แผนการจัดกิจกรรมการละเล่นแบบไทยจำนวน 10 แผน 
          2.แบบทดสอบมโนทัศน์ด้านคณิตศาสตร์สำหรับเด็กปฐมวัยมีค่าความเชื่อมั่นเท่ากับ 0.85 ตามหลักสูตรการศึกษาปฐมวัย กระทรวงศึกษาธิการ พุทธศักราช 2546 
          3.แบบสังเกตพฤติกรรมในระหว่างการร่วมกิจกรรมการละเล่นแบไทยเกี่ยวกับการเรียนรู้และพัฒนาการทางด้านมโนทัศน์พื้นฐานทางคณิตศาสตร์สำหรับเด็กปฐมวัย ชนิดไม่มีโครงสร้าง
การรวบรวมข้อมูล
   ผู้วิจัยได้ขอความอนุเคราะห์และความร่วมมือทดลองเครื่องมือจากนั้นดำเนินการเลือกกลุ่มตัวอย่างแบบเจาะจงจำนวน 24 คน ให้นักเรียนทำแบบทดสอบก่อนทำกิจกรรม 1 ครั้ง และดำเนินการจัดกิจกรรมการละเล่นแบบไทยและให้นักเรียนทำแบบทดสอบมโนทัศน์ด้านคณิตศาสตร์หลังจากทำกิจกรรมครบ 24 สัปดาห์ หลังจากนั้นนำข้อมูลที่ได้จากการทดสอบก่อนและหลังการทดลองไปวิเคราะห์ใช้วิธีการทางสิถิติ สุดท้ายก็นำข้อมูลจากการบันทึกพฤติกรรมในระหว่างร่วมกิจกรรมการละเล่นแบบไทยที่เกี่ยวกับการเรียนรู้และพัฒนาการทางด้านมโนทัศน์พื้นฐานทางคณิตศาสตร์ไปประกอบกับข้อมูลผลการวิเคราะห์จากแบบทดสอบมโนทัศน์ด้านคณิตศาสตร์ของเด็กปฐมวัย
การวิเคราะห์ข้อมูล
    นำข้อมูลโดยหาค่าเฉลี่ยและค่าเบี่ยงเบนมาตรฐานด้วนตนเองและเปรียบเทียบกับโปรแกรมคอมพิวเตอร์และนำข้อมูลโดยใช้ตารางประกอบคำบรรยาย
สถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์ข้อมูล
   1.ข้อมูลทั่วไปของนักเรียน
   2.การเปรียบเทียบความแตกต่างของคะแนนเฉลี่ยนของมโนทัศน์ด้านคณิตศาสตร์
   3.ผลคะแนนที่เพิ่มขึ้นหลังจากใช้กิจกรรมการละเล่นแบบไทยเพื่อพัฒนามโนทัศน์ด้านคณิตศาสตร์ทั้ง 5 วิเคราะห์โดยใช้สถิติ ความถี่และร้อยละ
   4.การวิเคราะห์หาความยากง่ายและอำนาจจำแนกของแบบทดสอบโดยใช้เทคนิคร้อยละ 50 และการหาค่าความเชือมั่นของแบบทดสอบทั้งฉบับแบบของคูเดอร์และริชาร์ดสัน การหาค่าเฉลี่ยสูตรเอ็กซ์บาร์ การหาส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐานเป็นการวัดการกระจายของข้อมูลและการหาค่าความแตกต่างของคะแนนเฉลี่ยเพื่อเปรียบเทียบคะแนนก่อนเรียนและหลังเรียนโดยใช้การทดสอบค่าที

บทที่ 4 ผลการวิเคราะห์ข้อมูล
        จากการวิจัยเรื่องการใช้กิจกรรมการละเล่นแบบไทยเพือพัฒนามโนทัศน์ด้านคณิตศาสตร์ของเด็กปฐมวัยเพื่อศึกษาถึงผลของการใช้กิจกรรมการละเล่นแบบไทยเพื่อพัฒนามโนทัศน์ด้านคณิตศาสตร์ของเด็กปฐมวัยอายุ 5-6 ปี จำนวน 24 คน ซึ่งผู้วิจัยได้วิเคราะห์ข้อมูลโดยการเปรียบเทียบข้อมูลโดยการเปรียบเทียบผลจากการทำแบบประเมินมโนทัศน์ด้านคณิตศาสตร์ก่อนและหลังเข้าร่วมกิจกรรมการละเล่นแบบไทยที่ผู้วิจัยได้จัดขึ้น จากนั้นนำข้อมูลที่ได้มาวิเคราะห์ด้วยโปรแกรมสำเร็จรูป
         ผลการวิเคราะห์ข้อมูลแบ่งเป็น 2 ตอนดังนี้
         ตอนที่ 1 ข้อมูลทั่วไปของนักเรียน
         ตอนที่ 2 การเปรียบเทียบความแตกต่างของคะแนนเฉลี่ยด้านคณิตศาสตร์ก่อนและหลังเข้าร่วมกิจกรรมการละเล่นแบบไทย
โดยสรุปของตอนที่ 2 ว่าก่อนการเข้าร่วมกิจกรรมกับหลังการเข้าร่วมกิจกรรมมีคะแนนที่แตกต่างกัน แสดงให้เห็นว่าหลังการเข้าร่วมกิจกรรมนักเรียนมีมโนทัศน์ด้านการนับและจำนวน 1-30 ด้านตัวเลขจำนวนคู่และจำนวนคี่ ด้านการเปรียบเทียบจำนวนมากกว่า น้อยกว่า เท่ากัน ด้านองค์ประกอบการบวกจำนวน 10 ด้านการลบจำนวน 10 และด้านคณิตศาสตร์ทั้ง 5 ด้าน สูงกว่าก่อนการเข้าร่วมกิจกรรม

บทที่ 5 สรุป อภิปรายผลและข้อเสนอแนะ
สรุป
   การวิจัยเรื่องการใช้กิจกรรมการละเล่นแบบไทยเพื่อพัฒนามโนทัศน์ด้านคณิตศาสตร์ของเด็กปฐมวัยเป็นเชิงทดลองแบบมีกลุ่มเดียวมดสอบก่อนและหลังการทดลอง สมมุติฐานในการวิจัยคือ กิจกรรมการละเล่นแบบไทยเพื่อพัฒนามโนทัศน์ด้านคณิตศาสตร์ของเด็กปฐมวัยสูงขึ้น กลุ่มเป้าหมายคือเด็กปฐมวัย อายุ5-6 ปี ชั้นอนุบาลปีที่3 จำนวน24 คน เครื่องมือที่ใช้ในการศึกษาประกอบด้วย แผนการจัดกิจกรรมการละเล่นแบบไทยจำนวน 10 แผน และแบบทดสอบมโนทัศน์ด้านคณิตศาสตร์ของเด็กปฐมวัยตามหลักสูตรการศึกษาปฐมวัย กระทรวงศึกษาธิการ พุทธศักราช2546และแบบบันทึกการสังเกตพฤติกรรมของเด็กปฐมวัยชนิดไม่มีโครงสร้าง
   เครื่องมือที่ใช้ในการศึกษา คือแบบทดสอบมโนทัศน์ด้านคณิตศาสตร์ซึ่งผู้วิจัยนำมาจากแบบฝึกทักษะสนุกตัวเลขพื้นฐานเบื้องต้น เพื่อพัฒนาทักษะและประสบการณ์สำหรับเด็กอายุ 5-6ปี ของกระทรวงศึกษาธิการโดนสุรศักดิ์ อมรรัตน์ศักดิ์ (2540)ทำการรวบรวม 2 ครั้ง ครั้งที่ 1ก่อนการใช้กิจกรรมการละเล่นแบบไทย ครั้งที่2หลังการใช้กิจกรรมการละเล่นแบบไทย จากนั้นนำข้อมูลมาวิเคราะห์ เปรียบเทียบมโนทัศน์ด้านคณิตศาสตร์ก่อนและหลังการใช้กิจกรรมการละเล่นแบบไทยโดนหาค่าเฉลี่ยและค่าเบี่ยงเบนมาตรฐานด้วยตนเองและเปรียบเทียบกับการใช้โปรแกรมคอมพิวเตอร์ดังนี้
   1.แผนการจัดกิจกรรมการละเล่นแบบไทยเพื่อพัฒนามโนทัศน์ด้านคณิตศาสตร์ของเด็กปฐมวัยมีความสอดคล้องตามพัฒนาการของเด็กปฐมวัยของหลักสูตรการศึกษาปฐมวัยกระทรวงศึกษาธิการ พุทธศักราช2546 จำนวน 10 แผน
   2.เด็กปฐมวัยมีมโนทัศน์ด้านคณิตศาสตร์การนับและจำนวน การรู้ตัวเลขจำนวนคู่และจำนวนคี่ การเปรียบเทียบจำนวนมากกว่าน้อยกว่าเท่ากัน องค์ประกอบการบวกจำนวน10 การลบจำนวน10ละด้านคณิตศาสตร์รวมทุกด้าน หลังการทดลองการใช้กิจกรรมการละเล่นแบบไทยเพิ่มขึ้นมากกว่าก่อนการทดลอง
อภิปรายผล
   การค้นคว้าแบบอิสระครั้งนี้เพื่อศึกษาการใช้กิจกรรมการละเล่นแบบไทยเพื่อพัฒนามโนทัศน์ด้านคณิตศาสตร์ของเด็กปฐมวัยจำนวน 10 แผน เป็นการทำการทดลองใช้กิจกรรมในช่วงเวลา 4 สัปดาห์  จำนวน 20ครั้ง เครื่อมือที่ใช้ในการศึกษาประกอบด้วยแผนการจัดกิจกรรมการละเล่นแบบไทยจำนวน10แผนและแบบทดสอบมโนทัสน์ด้านคณิตศาสตร์ของเด็กปฐมวัยตามหลักสูตรการศึกษาปฐมวัย กระทรวงศึกษาธิการ พุทธศักราช 2546 นำมาวิเคราะห์ข้อมูลโดยหาค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐานนำเสนอข้อมุลโดยใช้ตารางประกอบคำบรรยาย ผลการศึกษาพบว่าแผนการจัดกิจกรรมการละเล่นแบบไทยจำนวน10แผนสามารถทำให้เด็กปฐมวัยเกิดการเรียนรู้และพัฒนามโนทัศน์ด้านคณิตศาสตร์เพิ่มขึ้นกว่าก่อนการทดลอง ผลการวิจัยจึงสนับสนุนสมมุติฐานที่ตั้งไว้และสอดคล้องกับผลงานวิจัยเกี่ยวกับการใช้กิจกรรมการละเล่นแบบไทยเพื่อพัฒนาทักษะด้านต่างๆ อาทิปานศิริ รุ่งรัศมี(2553)ได้ทำการวิจัยเรื่อง การสร้างชุดการสอนเรื่องพัฒนาความพร้อมสำหรับเด็กก่อนวัยเรียนอายุ5-6ปี ซึ่งผลการวิจัยสรุปได้ว่านักเรียนมีคะแนนด้านคณิตศาสตร์สูงขึ้นมากกว่าก่อนการทดลอง ซึ่งผลการวิจัยที่มีความสอดคล้องกันแสดงให้เห็นว่าการนำกิจกรรมการละเล่นแบบไทยเป็นกิจกรรมหนึ่งที่สามารถช่วยพัฒนามโนทัศน์ด้านคณิตศาสตร์ของเด็กปฐมวัยให้สูงขึ้นได้และจากการบันทึกพฤติกรรมในการจัดกิจกรรมการละเล่นแบบไทย พบว่า เด็กได้รับการพัฒนาการด้านร่างกายเป็นอย่างดี รวมทั้งเด็กยังได้รับการพัฒนาในด้านอารมณ์ จิตใจและปลูกฝังคุณธรรม จริยธรรมสังคมโดยผ่านกระบวนการเล่นปนเรียนจึงพบว่าการใช้กิจกรรมการละเล่นแบบไทยช่วยพัฒนามโนทัศน์ด้านคณิตศาสตร์ของเด็กปฐมวัยให้เพิ่มสูงขึ้นได้
ข้อเสนอแนะ
ข้อเสนอแนะทั่วไป
   โดยสรุปได้โดยสังเขปดังนี้ การเรียนรู้คณิตศาสตร์ของเด็กปฐมวัยต้องให้สอดคล้องกับวัยและพัฒนาการของเด็ก ให้เด็กได้ลงมือปฏิบัติ การเรียนต้องไม่เครียด มีกิจกรรมที่หลากหลายใช้สถานการณ์ในปัจจุบันของเด็กเป็นพื้นฐานในการจัดกิจกรรมและที่สำคัยสำหรับการเชื่อมต่อการศึกษาระดับปฐมวัยกับระดับประถมศึกษาปีที่1มีความสำคัญ ครูผู้สอนควรต้องศึกษาหลักสูตรการศึกษาขั้นพื้นฐานของชั้นประถมศึกษาปีที่1รวมทั้งการสร้างความเข้าใจกับผู้ปกครองและผู้ที่มีส่วนเกี่ยวข้อง รวมทั้งการช่วยเหลือเด็กในการปรับตัวก่อนเลื่อนชั้นประถมศึกษาปีที่1
ข้อเสนอแนะเพื่อการวิจัยครั้งต่อไป
   ควรนำกิจกรรมการละเล่นแบบไทยไปจัดกิจกรรมให้กับเด็กที่อาศัยอยู่ในสถานสงเคราะห์กับเด็กที่อยู่ในสถานพินิจ รวมทั้งควรศึกษาแนวน้มการเลือกรูปแบบการเล่นของเด็กไทยระหว่างการอนุรักษ์วัฒนธรรมไทย กับการเล่นเกมคอมพิวเตรอ์ออนไลน์หรืออิทธิพลที่มีต่อการเลือกรุปแบบการเล่นของเด็กไทย


การนำไปประยุกต์ใช้
   การวิจัยเรื่องนี้มีประโยชน์ต่อการเรียนเป็นอย่างมาก สามารถประยุกต์ใช้ได้ในหลายกิจกรรมประจำวันของเด็กนั่นก็คือ กิจกรรมกลางแจ้งซึ่งรูปแบบการละเล่นของไทยเป็นรูปแบบกิจกรรมหนึ่งซึ่งสอดแทรกการเรียนรู้คณิตศาสตร์เบื้องต้นของเด็กและยังเป็นแนวทางในการศึกษาการวิจัยในการเรียนการสอนในระดับที่สูงขึ้นไป

กิจกรรมประดิษฐ์สื่อคณิตศาสตร์สำหรับเด็กปฐมวัย(คู่)

การทำสื่อคณิตศาสตร์สำหรับเด็กปฐมวัย(คู่)

(ลูกเต๋าหรรษาและบันไดงูปริศนา)

                                นางสาวบุณยาพร          พลคร
                                นางสาววรรณา              เอี่ยมวิสุทธิสาร

วัสดุอุปกรณ์
ทำลูกเต๋า
1.เศษผ้า
2.กรรไกร
3.ด้าย
4.ไม้บรรทัดวัด
5.ดินสอ
6.จักรเย็บผ้า
7.ใยสังเคราะห์
8.เข็ม
ทำบันไดงูและตัวเดิน
1.กระดาษแข็ง
2.กระดานไม้อัด
3.คัตเตอร์
4.กรรไกร
5.กาว/กาวสองหน้า
6.ปีโป้
7.กระดาษสีต่างๆ
8.สีเมจิก/สีไม้
9.ดินสอ

ขั้นตอนการทำ

ลูกเต๋า
1.เตรียมอุปกรณ์ให้พร้อมในการทำลูกเต๋า
2.วัดผ้าขนาด 5x5 เซนติเมตร เพื่อทำเป็นตัวลูกเต๋า
3.วัดขนาดจุดวงกลมขนาดพอเหมาะเพื่อนำไปติดที่ตัวผ้า
4.ตัดจุดวงกลมออกจำนวน  21 จุด
5.นำจุดวงกมที่ตัดได้แล้วมาติดกับผ้าด้วยกาว
6.จากนั้นตัดตัวลูกเต๋าออก
7.ตัดตัวลูกเต๋าออกมาทั้งหมด 6 ชิ้น
8.นำจุดวงกลมบนลูกเต๋ามาเย็บด้วยจักรเพื่อความคงทนไม่หลุด
9.กลับด้านเย็บตัวลูกเต๋าทั้ง6ชิ้นด้วยจักร โดยจะเย็บจะข้างในเพื่อไม่ให้ข้างนอกเห็นรอยจักรและสวยงาม
10.กลับด้านออกมาและเหนือรูไว้1รูเพื่อ ไว้สำหรับยัดใยสังเคราะห์
11.นำใยสังเคราะห์ยัดใส่ในลูกเต๋าจนเต็ม
12.เย็บรูที่ไว้ใส่ใยสังเคราะห์ให้เรียบร้อยและสวยงาม
ลูกเต๋าที่เสร็จสมบูรณ์
บันไดงู
1.นำคัตเตอร์มาตัดกระดาษแข็งตามขนาดที่ต้องการ
2.จากนั้นนำกระดาษที่ได้มาติดบนกระดานไม้อัด
3.ร่างบันไดงูตามที่เราต้องการ
4.นำสีเมจิกมาเขียนเพื่อให้ภาพสวยงาม
5.ตกแต่งด้วยสีไม้หรือสีเมจิก
6.จากนั้นเมื่อนำไปให้อาจารย์ดู ก็ได้คำแนะนำมาใหม่ให้ทำตัวเลขถึง30 แล้วบอกรายละเอียดให้ครบถ้วน
7.จากนั้นก็ตกแต่งบันไดงูอันใหม่ให้สวยงาม
8.ก็จะได้บันไดงูที่เสร็จสมบูรณ์
9.เราอาจทำตัวเดินซื้อแทนตัวเด็กด้วยการนำเอาปีโป้มาใช้แล้ววาดรูปภาพติดไปเพื่อให้สวยงาม
10.ก็พร้อมนำบันไดงูและลูกเต๋าไปเล่นแล้ว
เมื่อนำสื่อไปเล่นกับเด็ก
     นำไปให้เด็กอายุ 5 ขวบเล่น หลังจากได้เล่นแล้วเด็กมีความสนุกสนานกับการได้นับจำนวนได้เดินตัวปีโป้ที่ตนเองชอบและเด็กข้าใจสื่อได้ง่าย ซึ่งจากการสอบถามผู้ปกครองก็ทำให้ได้รู้ว่าสื่อนี้มีระโยชน์มากเพราะเด็กถามหาจะเล่นทุกวัน สะท้อนให้เห็นว่าเด็กเริ่มมีนิสัยในการอยากเรียนรู้คณิตศาสตร์เพิ่มขึ้นแล้ว


วันเสาร์ที่ 15 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2557

บันทึกการเรียนครั้งที่15

วิชาการจัดประสบการณ์ทางคณิตศาสตร์สำหรับเด็กปฐมวัย

เวลาที่เข้าเรียน :08.30น.   อาจารย์เข้าสอน :08.25 น.   เลิกเรียนเวลา:11.00น.
วันที่ 13 เดือน กุมภาพันธ์ พ.ศ.2557

อาจารย์สรุปวิชาการจัดประสบการณ์ทางคณิตศาสตร์สำหรับเด็กปฐมวัยดังนี้
   สื่อเป็นตัวกลางผ่านประสาทสัมผัสทั้ง 5 จากประสบการ์ณเดิมของเด็กและประสบการ์ณใหม่จากครูเด็กจึงจะเกิดการเรียนรู้
   การเรียนรู้ที่ดีของเด็กคือการเล่น โดยผ่านประสาทสัมผัสทั้ง 5 ให้เด็กได้ลงมือปฏิบัติจริง
ขอบข่ายสาระมาตรฐานคณิตศาสตร์ของ สสวช.
1.จำนวนและการดำเนินการ
 เป็นการสอนเด็กในเรื่องการนับ การเพิ่มลด การนับเลขฐาน10 การแยก การเรียงลำดับ เรียงลำดับเวลา
การสอนคณิตศาสตร์ในเรื่องจำนวนและการดำเนินการ
2.การวัด
เป็นการสอนเด็กในเรื่องการวัดความสูง ความยาว ความกว้าง เครื่องมีทั้งที่ไม่เป็นทางการ กึ่งทางการและเป็นทางการ
การสอนคณิตศาสตร์ในเรื่องการวัด
3.เรขาคณิต
เป็นการสอนเด็กในเรื่องรูปทรง รูปร่าง ทิศทาง และตำแหน่งเพื่อให้เด็กรู้และเข้าใจความรู้พื้นฐานในเรื่องเรขาคณิต
การสอนคณิตศาสตร์ในเรื่องเรขาคณิต
4.พีชคณิต
เป็นการสอนในเรื่องแบบรูป อาจทำเกมให้เด็กเล่นเกี่ยวกับแบบรูปต่างๆ อาจเป็นเรื่องเซต(การจัดหมวดหมู่ด้วยเหตุผลในการจัดกลุ่ม)
การสอนคณิตศาสตร์ในเรื่องพีชคณิต
5.การวิเคราะห์ข้อมูลและความน่าจะเป็น
เป็นการสอนในการตั้งสำรวจข้อมูลต่างๆในชีวิตประจำวัน จัดทำแผนภูมิอย่างง่าย จัดโอกาสให้เด็กทำนาย หรือคาดเหตุการณ์ต่างๆ
การสอนคณิตศาสตร์ในเรื่องการวิเคราะห์ข้อมูลและความน่าจะเป็น
6.ทักษะและกระบวนการทางคณิตศาสตร์
เป็นการสอนเด็กให้มีความสามารถในการแก้ปัญหา การให้เหตุผล การสื่อสารและการสื่อความหมายทางคณิตศาสตร์และการนำเสนอ การเชื่อมโยงความรู้ต่างๆ ทางคณิตศาสตร์และเชื่อมโยงคณิตศาสตร์กับศาสตร์อื่นๆและมีความคิดสร้างสรรค์
การสอนคณิตศาสตร์ในเรื่องทักษะและกระบวนการทางคณิตศาสตร์

และเรื่องทฤษฎีเรียนคณิตศาสตร์
- แรงจูงใจ
- เด็กได้ลงมือกระทำจริง
การเรียนรู้คณิตศาสตร์ผ่านกิจกรรมทั้ง 6 กิจกรรมหลัก
จากนั้นเมื่อเราได้เรื่องสาระที่ควรเรียนรู้แล้วก็เขียนเป็นMind Map และกำหนดการสอนในแต่ละวัน

และกิจกรรมสุดท้ายคือนำเสนอแผ่นพับการให้ความรู้แก่ผู้ปกครองแต่ละกลุ่ม
กลุ่มที่1
แผ่นพับเรื่องรู้ทันประโยชน์และโทษของไก่
กลุ่มที่ 2
แผ่นพับเรื่องสานสัมพันธ์เรื่องคณิตศาสตร์กับส่วนประกอบของไก่

กลุ่มที่3 
แผ่นพับเรื่องไข่กับคณิตศาสตร์
กลุ่มที่ 4
แผ่นพับเรื่องกุ๊กไก่หลายชนิด
กลุ่มที่5
แผ่นพับเรื่องความรู้สู่ผู้ปกครองเรื่องการดูแลไก่

การนำไปใช้

   สามารถนำความรู้เรื่องการจัดประสบการณ์ทางคณิตศาสตร์ไปปรับใช้ในการจัดกิจกรรมการเรียนการสอนในอนาคตซึ่งเป็นการสอนให้เด็กมีพื้นฐานทางคณิตศาสตร์เบื้องต้นเพื่อส่งการเรียนในระดับชั้นประถมศึกษาต่อไป และที่สำคัญการให้ความรู้กับผู้ปกครองในเรื่องคณิตศาสตร์เป็นหนึ่งวิธีการหนึ่งในการช่วยสอนคณิตศาสตร์กับเด็กปฐมวัย
ประเมินตนเอง
  สามารถมีความคิดและสรุปความคิดเป็นMind Mapได้จากวิชาการจัดประสบการณ์ทางคณิตศาสตร์สำหรับเด็กปฐมวัยและสามารถนำความรู้เรื่องการให้ความรู้แก่ผู้ปกครองนำไปใช้ในอนาคตการสอนได้
ประเมินเพื่อน
  เวลาออกไปนำเสนอเพื่อนสามารถถ่ายทอดความรู้ออกมาได้อย่างดีและยังสามารถปรับประยุกต์ใช้ความรู้เดิมของตนเองให้เป็นประโยชน์กับการเรียน
ประเมินอาจารย์
   อาจารย์มีการสรุปความคิดที่ให้นักศึกษาเข้าใจง่ายและนำความรู้มาใช้ในการสอบได้ด้วย และอาจารย์ได้มีการสอดแทรกข้อคิดต่างๆเพื่อนำมาใช้ในชีวิตจริงได้อีกด้วย



วันเสาร์ที่ 8 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2557

บันทึกการเรียนครั้งที่ 14

วิชาการจัดประสบการณ์ทางคณิตศาสตร์สำหรับเด็กปฐมวัย
เวลาที่เข้าเรียน:08.25 น.   อาจารย์เข้าสอน:08.35น.   เลิกเรียนเวลา:11.45 น.
วันที่ 6 เดือน กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2557



อาจารย์ให้สรุปความคิดจากตนเองในเรื่อง การจัดประสบการณ์ทางคณิตศาสตร์สำหรับเด็กปฐมวัย เป็น Mind Map ตามที่ตนเองจำเพื่อเป็นการทบทวนความคิดรวบยอด
สรุปการจัดประสบการณ์ทางคณิตศาสตร์สำหรับเด็กปฐมวัยเป็น Mind Map
   จากนั้นอาจารย์สรุปการเรียนเรื่องการจัดประสบการณ์ทางคณิตศาสตร์สำหรับเด็กปฐมวัยการเรียนคณิตศาสตร์จะผ่านพัฒนาการด้านสติปัญญา โดยนักการศึกษาคือเพียเจท์และบรูนเนอร์ได้ศึกษาพัฒนาการของเด็ก โดยเด็กแรกเกิด-2 ปี เด็กจะเรียนรู้ผ่านประสาทสัมผัสทั้ง 5 ลงมือกระทำและแสดงพฤติกรรมออกมาตามพัฒนาการ และตีความหมายของเด็กเอง อายุ2-6 ปี เด็กเริ่มพูดและสื่อสาร เริ่มมีการใช้เหตุผล เริ่มใช้สัญลักษณ์มาแทนค่าสิ่งต่างๆ ถ้าเด็กได้รับการตอบสนองทางพฤติกรรมที่เหมาะสมเด็กจะมีความสุขและอยากทำกิจกรรมต่อๆไป หน้าที่ครูคือการจัดประสบการณ์และจัดกิจกรรมให้เหมาะสมกับอายุและพัฒนาการของเด็ก

หน้าที่ 1 หน้าปก
หน้าที่ 2 สาระทางคณิตศาสตร์
หน้าที่ 3 เรื่อง ส่วนประกอบของไก่
หน้าที่ 4 เรื่อง เกมมามาหาคู่กัน
หน้าที่ 5 เรื่อง น้องหนูมาจ่ายตลาด
หน้าที่ 6 เรื่อง แนวการสอนคณิตศาสตร์ของผู้ปกครอง และชื่อสมาชิก

   จากนั้นอาจารย์ให้จับกลุ่มช่วยระดมความคิดการทำเอกสารแผ่นพับถึงผู้ปกครองในการมีส่วนช่วยในการสอนคณิตศาสตร์ให้กับเด็กถึงแม้จะไม่ได้สอนโดยตรงก็ตาม
แบบร่างแผ่นพับสานสัมพันธ์บ้านและโรงเรียน

การนำไปใช้
   นำการทำMind Map ไปช้ในการเรียนการสอนเพื่อให้ได้ความคิดรวบยอด จากหัวข้อใหญ่มาหัวข้อย่อย และนำความรู้ที่อาจารย์บอกมาปรับเปลี่ยนให้เหมาะสมกับตนเอง และการทำเอกสารแผ่นพับถึงผู้ปกครองเป็นส่วนหนึ่งในการสอนเด็กให้มีความรู้เพิ่มมากขึ้น
ประเมินตนเอง
   พยายามเขียน Mind Map ในเรื่องการจัดประสบการณ์ทางคณิตศาสตร์สำหรับเด็กปฐมวัยถึงแม้จะจำไม่ค่อยได้แต่ก็พยายามรวบรวมความรู้ให้ได้มากที่สุด
ประเมินเพื่อน
   เพื่อนๆทุกคนมีสมาธิในการเขียน Mind Map และมีความคิดที่ดีในการทำแผ่นพับที่เราสามารถนำไปใช้ให้เกิดประโยชน์ได้
ประเมินอาจารย์
  มีการสอนโดยให้สรุปเป็น Mind Map ของนักศึกษาเพื่อให้เกิดความรู้ที่ถูกต้องและคำพูดของอาจารย์ก็เป็นคำพูดที่เข้าใจง่าย สามารถนำไปปรับใช้ได้


  




บันทึกการเรียนครั้งที่13

วิชาการจัดประสบการณ์ทางคณิตศาสตร์สำหรับเด็กปฐมวัย
เวลาที่เข้าเรียน:08.00 น.   อาจารย์เข้าสอน:08.30น.   เลิกเรียนเวลา:12.05 น.
วันที่ 30 เดือนมกราคม พ.ศ.2557

การเลือกเขียนแผนการสอน
1.ระดมความคิด
2.เลือกแผนที่จะมานำเสนอ
3.นำเสนอช่วยกันเป็นกลุ่ม

จากนั้นกลุ่มวันที่ 2-5 ออกมานำเสนอ
แผนวันที่2 กิจกรรมเสริมประสบการณ์(วงกลม)
หน่วย ลักษณะของไข่

กิจกรรมที่ให้เด็กได้มีส่วนร่วมในการมาติดรูปที่เป็นลักษณะต่างๆของไข่

   การพูดคำคล้องจอง ที่ให้เด็กพูดตามควรเขียนให้เด็กได้อ่านได้เห็นแทนด้วยภาพง่ายๆเพื่อให้เด็กเข้าใจ ในขณะเด็กๆพูดตามควรมีภาพให้เด็กดูจากนั้นใช้คำถามกับเด็ก


การนำเสนอแผนวันที่ 2 เรื่องลักษณะของไข่
   การเขียน Mind Map ของวันแรกในหน่วยๆนั้น มาสรุปให้เด็กดูก่อนเรียนในเรื่องนั้นในวันต่อไป ให้เด็กได้ดูของจริงค่อยนำมาสรุปเป็นตาราง จากนั้นให้เด็กลองสังเกต ให้เด็กเรียนรู้ให้เด็กได้ลงมือปฏิบัติจิง ให้เด็กได้ทดลองรับรู้ด้วยตนเองและครูคอยชี้แนะ เมื่อสอนเสร็จก็ทบทวนเรื่องที่สอนในวันนี้ด้วย 
แผนวันที่ 3 กิจกรรมเสริมประสบการณ์(วงกลม)
หน่วย ส่วนประกอบของไก่
การสอนส่วนประกอบของไก่โดยให้เด็กออกมานับตัวเลขและออกมาบอกส่วนประกออบของไก่
   บอกส่วนประกอบของไก่สอนเป็น MindMap ต่อเนื่องจากเรื่องที่สอนของเรื่องอื่นๆในวันที่ผ่านมา จากนั้นสอนด้วยสื่อต่างๆที่เป็นประโยชน์กับเด็ก
การนำเสนอแผนวันที่ 3 เรื่องลักษณะของไก่
   การสอนควรมีการให้เด็กได้ค้นหาคำตอบ ได้ลงมือปฏิบัติจริง ควรจัดกิจกรรมที่ให้เด็กมีส่วนร่วมกันทุกๆคน ครูไม่ควรบอกเด็กหมดทุกอย่างแต่ถามเพื่อให้เด็กตอบ 

แผนวันที่ 4 กิจกรรมเสริมประสบการณ์ (วงกลม)
หน่วย ประโยชน์ของไก่
การสอนประโยชน์ของไก่โดยใช้นิทานเป็นสื่อมาช่วยในการสอน
   ในการสอนขั้นนำนั้นได้ใช้นิทานมาเป็นสื่อในการช่วยในการสอนอาจเป็นคำคล้องจองก็ได้เพื่อให้เด็กเกิดความสนุกสนานและอยากเรียนมากยิ่งขึ้น
การนำเสนอแผนวันที่ 3 เรื่อง ประโยชน์ของไก่
   ถ้าในแผนมีนิทานตองเขียนเนื้อหานิทานไปด้วย และเขียนให้ละเอียดเผื่อในวันข้างหน้าเราเป็นครูแล้วติดธุระครูที่มาสอนแทนนำแผนที่เราเขียนนำมาสอนได้ อาจนำเพลงมาช่วยในการสอนนิทาน มีการสอนนิทานหลายแบบอยากเป็นการเล่านิทานโดยการวาดภาพก็ได้
แผนวันที่ 5 กิจกรรมเสริมประสบการณ์ (วงกลม)
หน่วย การดูแลรักษาไก่
ขั้นนำในการสอนเรื่องการดูแลรักษาไก่ จะใช้คำคล้องจองในการนำเข้าสู่ขั้นสอน
คำคล้องจอง
 ก เอ๋ย ก ไก่       เลี้ยงไว้ในเล้า
ขันปลุกพวกเรา  ตื่นเช้ากันเอย

การนำเสนอแผนวันที่ 5 หน่วยการดูแลรักษาไก่

   ขั้นสอนจะนำวีดีโอการดูแลรักษาไก่มาให้เด็กดูเพื่อเป็นสื่อใหม่ๆที่จะทำไม่ให้เด็กเบื่อ ควรเป็นวีดีโอสั้นๆ การสอนคำคล้องจองถ้าเป็นคำคล้องจองสั้นๆ ไม่ต้องเขยนให้เด็กดูแต่สอนให้เด็กพูดตามที่ละวรรคจนเด็กเริ่มจำได้ จากนั้นครูและเด็กพูดไปพร้อมๆกัน
การนำไปใช้
   นำความรู้ที่ได้จากการสาธิตการสอนของเพื่อนๆไปปรับใช้ให้เหมาะสมกับการสอนของตนเอง ส่วนที่ดีนำมาเก็บไว้ ส่วนที่ยังไม่ค่อยดีก็นำไปปรับปรุงให้ดีและนำไปใช้ต่อไป
ประเมินตนเอง
   มีความพยายามในการนำเสนอการสอนแผนถึงแม้จะลืมการใช้คำถามไปบ้างแต่ถ้ามีครั้งต่อไปจะพยายามทำให้ดีขึ้น
ประเมินเพื่อน
   เพื่อนแต่ละคนมีการสอนที่น่าสนใจ แต่บางคนก็ต้องมีการปรับปรุงให้ดีขึ้น ควรมีการฝึกพูดและสอนบ่อยๆเพื่อให้เกิดความชำนาญและมีการเตรียมพร้อมที่ดีในการสาธิตการสอนเป็นอย่างดีทุกคน
ประเมินอาจารย์
   อาจารย์มีการแนะนำสิ่งที่ดีให้กับนักศึกษาเพื่อนำไปปรับปรุงแก้ไข นักศึกษาควรฟังและนำคำที่อาจารย์บอกไปประยุกต์ใช้